Tuesday, November 26, 2013

Talking About Politics



I must admit I am not keen to talk about politics, or to be exact, Thai politics. I find the argument, most of the time, based regardless on practical issues. Throughout 80 years of becoming a democracy, they have not yet settles with any constitutions or system they are satisfied with. 

I supposed that if the government fails to manage the country, they should gradually fall out of power. It is useless to spend tax money to buy popularity, because greed are always increased. If they do, the government should soon run out of money, and before they realise, be painted with filth.

Moreover, honesty is the best method when it comes to dealing public issues. If the government truly concerns about developing the country, they should remain popular and successful in a long run. 

I am going to state here that I am against whatever loud, irresponsible, violence and road-occupying protest, as I believe there are better ways to express your opinion to the public. Numbers of ways does not require to cause nuisance, nor gain so many crowd. There is the system to peacefully rally against what we believe does not belong in our society. 

Just a random post,

Wita

Sunday, November 10, 2013

นาฏศิลป์เป็นวิชาเลือก ไม่ดีตรงไหน?

วันนี้ มีโอกาสได้อ่านบทความของคุณ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ในคอลลัมน์อกาลิโก ในนิตยสารเวย์ แมกกาซีน ฉบับที่ 67

จะบอกว่าเห็นด้วยก็ไม่เชิง แต่ออกแนวอยากโต้เถียงต่อข้อหยิบยกที่นำเสนอในบทความ

WAY67_Cover

ในบทความดังกล่าว ดูจะหยิบยกประเด็นเรื่องการศึกษานาฏศิลป์ไทย เข้ากับหลักศาสนา ซึ่งบอกว่า การศึกษานั้น ควรจะมีการฝึกบังคับตน ตามที่หลักศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลามต่างสอนให้ผู้ที่ธำรงค์ในศาสนาต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

เช่น ในศาสนาคริสต์ “ถ้าเขาตบแก้มขวา ให้เรายื่นแก้มซ้ายให้ตบด้วย” และการถือศีลอด ในศาสนาอิสลาม เพื่อให้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่อยากอดอยาก กระหาย

อันนี้บอกตามตรงว่าเราไม่เข้าใจทั้งหมด เพราะพื้นฐานของเราไม่ฝักใฝ่ศาสนาใดเป็นที่ตั้ง แต่ที่สืบต่อมาในประเด็นนี้คือ การที่บทความดังกล่าวกล่าวถึงยุดสมัยอาณานิคม (Colonialism) ว่าสืบเนื่องมาจากยุคหลังจากที่ชาวยุโรป ปลดแอกตัวเองออกจากการปกครองของศาสนา ก่อตั้งรัฐชาติ และกระทำการสนองความอยากได้ อยากมี และเข้ายึดครองประเทศต่างๆ เพื่อสนองความต้องการในประเทศของตน

เราเลยเกิดคำถามต่อมาว่า การศึกษาที่เชื่อมโยงกับการฝึกบังคับตนเอง (ตามหลักศาสนา) สำคัญอย่างไร? เพื่อจะได้ไม่เป็น “สุนัขหางด้วน” ตามที่อ้างถึงในบทความ

ในมุมมองของเรา การนำตัวเองออกจากข้อบังคับของศาสนาของชาวยุโรป เป็นการผันตัวเองมาจากการเชื่อในเรื่องที่ศาสนาเป็นผู้อธิบาย – ซึ่งใช่ว่าจะมีเหตุผลตอบได้ทุกเรื่องไป

ยกตัวอย่างเช่นคำสอนของพระเจ้าเอง ก็ผ่านการตีความแบบอัตถวิสัยนิยม (Subjectivism) ของผู้นำทางศาสนา ที่ได้รับเลือกสืบทอดมานั่นเอง ส่วนจะเลือกมาอย่างไร ตามความเหมาะสม ในวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความนิยมชมชอบ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการใช้เหตุผลของคนจำพวกเดียว ที่มองว่าตัวเองรู้มากกว่าคนอื่นเป็นตัวตัดสิน

ซึ่งหากมองให้ดีแล้ว เรากลับคิดว่า การตีความแบบนี้ ไม่ค่อยเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีเหตุผลมารองรับเท่าใดนัก
ประเทศที่สอง การนำตัวเองออกจากข้อบังคับของศาสนา ก็เป็นการต่อยอดจากประวัติศาสตร์ ที่บันทึกผ่านถ้อยคำของศาสนา ให้มาสู่การนำไปปฏิบัติจริง

เมื่อสังคมยุโรปไม่ได้อยู่ในยุคที่ศาสนา สามารถนำพาความสุขมาสู่ปากท้องของประชาชน ชาวยุโรปจึงต้องปรับตัว ปลดแอกตัวเองออกมา ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่อไป คือการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการล่าอาณานิคมตามมา

นี่ไม่ใช่หรือเป็นหลักการคิดแบบใช้เหตุ – ผล? เมื่อเหตุคือความขาดแคลน ผลคือการต้องหาเพิ่ม เป็นการแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดในช่วงเวลา – สถานการณ์หนึ่ง

แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเวลาเดียวกัน มีคนกอบโกยประโยชน์จากระบบดังกล่าว เพื่อสนองความโลภของตัวเอง

ที่นี้ย้อนมาสู่ระบบการศึกษาไทย ซึ่งตามที่กระทรวงศึกษาออกมายืนยันคือ จะยังมีอยู่ในระดับประถม และมัธยมต้น เป็นวิชาบังคับในกลุ่มศิลปะ

แต่ในระดับมัธยมปลายจะเป็นวิชาเสรี ซึ่งเป็นวิชาเลือก ตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยให้เหตุผลว่า “ผู้เรียนที่รัก – ชอบศิลปะแขนงนี้จริงจะได้สามารถศึกษาให้ลงลึกได้” ขณะที่ “ผู้เรียนที่ไม่ต้องการเรียนจะได้นำเวลาไปใช้ในการศึกษาวิชาอื่นตามความเหมาะสม”

เราว่าดีออก หรือไม่จริง?

การตั้งเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งที่เหมาะสม และสมควรพัฒนาให้เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อที่ว่า ถ้าเรารู้ว่าเราต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

กรณีนี้ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย ในเมื่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนไป ตลาดแรงงานในประเทศก็เปลี่ยนตาม เด็กยุคใหม่ควรจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ความต้องการของตลาด และหันไปหาอาชีพที่ยั่งยืน เพื่อสนองสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของตน

อันนี้ไม่เพียงตอบโจทย์ในระยะยาวแล้ว ในระยะสั้น เรายังควรที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตด้วย
เราจึงเห็นว่า การตัดสิ่งที่เป็นทางเลือกออกไปจากความจำเป็นในชีวิต ถือเป็นก้าวใหม่ของการศึกษาไทย (ที่จะทำให้คนมีวินัยในการศึกษาสิ่งที่รัก สิ่งที่ชอบมากขึ้น)

นอกจากนี้ คนที่มีใจรัก และมุ่งมั่นกับการศึกษาศิลปกรรมนาฏศิลป์ของไทย ยังจะได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อสนองความต้องการเรียนรู้ของตัวเองให้สุดทาง


ไม่ใช่ครึ่งๆกลางๆแบบวันนี้ ยังงี้ไม่ดีกว่าหรือ?     

ขอบคุณนิตยสารเวย์ แมกกาซีน ที่ทำให้ได้คิดอะไรต่อยอดแบบนี้ค่ะ 

Saturday, August 17, 2013

ตลาดสามชุกวันนี้เงียบเหงากว่าที่เคย


หลังจากที่เราไม่ได้ไปเยือนนานกว่า 3 ปี วันนี้ได้กลับไปเยือนชุมชมริมแม่น้ำท่าจีนแห่งนี้อีกครั้งนึง รู้สึกว่าคนน้อยลงไป ไม่คึกคักเหมือนกับแต่ก่อนเลย ถ้าเป็นเมื่อก่อนต้องแย่งกันกิน แย่งกันเที่ยว




เมื่อพูดถึงตลาดสามชุกแห่งนี้แล้ว หลายคนคงนึกถึงคำโฆษณาว่า ตลาดแห่งนี้มีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี หลายคนคงนึงถึงเสื้อยืดของฝาก ซึ่งมีให้เลือกหลายร้านและใส่กันทั่วบ้านทั่วเมือง

ในมุมของเราตลาดสามชุกมีดีตรงที่ตลาดยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติที่ชาวบ้านมาเดินจับจ่ายซื้อสินค้ากันตามปกติ (คือไม่ใช่ตลาดสร้างภาพ) และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีร้านหนึ่งเดียวที่นี่ให้มาเยี่ยมชมกัน เช่น บ้านโค้ก ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่นักสะสม ที่ต้องมาชมคอลเล็กชั่นหลากหลายที่มีโลโก้ของโค้ก และร้านอาหาร/ของโบราณที่ให้มาเที่ยวชม เลือกซื้อ เลือกใช้บริการกัน

หมูตุ๋นร้อนๆ รอเสิร์ฟลูกค้าที่ร้านเถ้าแก่เบี้ยว
หลังจากที่เข้าไปในตลาด วันนี้มีโอกาสลองชิมก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นร้านเถ้าแก่เบี้ยว (ชื่อจีน เจ้งคี่ใช้) แทบไม่ต้องแย่งกับใครเลย พูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเถ้าแก่เบี้ยวแล้ว ร้านนี้เมื่อค่อยเคยมีดารามาเยือนหลายคน ตามภาพที่ติดเรียงรายอยู่บนผนัง ทั้งร้านมีอาหารหลากหลายจากเมนูหมู เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมู-ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นที่ปรุงตามสูตรโบราณในกระทะทองเหลือง นอกจากนี้ยังมีข้าวขาหมูให้ชิมกันด้วย เผื่อใครสนใจจะไปอุดหนุนก็ไปชมกันได้ น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวอร่อย แทบไม่ต้องปรุงเลย เส้นหมี่ในก๋วยเตี๋ยวก็ลวกได้พอเหมาะ ไม่เละ และไม่แข็งจนเกินไป

วันนี้เสียดายไม่ได้เลี้ยวไปเยือนบ้านโค้ก แต่กลับไปเจอร้านถ่ายรูปโบราณ "ศิลป์ธรรมชาติ" ที่คราวที่แล้วไปไม่ได้แวะชม ร้านนี้มีรูปอดีตนายกอภิสิทธิ์อยู่ที่หน้าร้านด้วย (แต่ไม่ทราบว่าเคยมาเยือนหรือเปล่า) ในร้านมีชุดในสมัยอดีตให้เปลี่ยนเพื่อถ่ายรูปในบรรยากาศย้อนยุคให้เลือกมากมาย

ร้านศิลป์ธรรมชาติ มีรูปอดีตนายก อภิสิทธิ์อยู่มุมซ้าย

เรายังได้มีโอกาสชิมไอติมกะทิสูตรโบราณ ที่คนขายต้องเขย่าถังเพื่อให้ไอติมแข็งด้วย (ถามคุณป้าว่าเขย่าถังให้ดูหน่อย แต่กลับลืมถ่ายวิดิโอ =.=)

คุณป้ากำลังโชว์ลีลาปั่นถังไอติม

ร้านไอติมที่ว่า...

นอกจากนี้ร้านหลายๆอย่างในตลาดเก่าแก่กว่า 100 ปีแห่งนี้ยังเปิดรอขาช๊อปและนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเหมือนอย่างเคย เช่นร้านไอติมร้านหนึ่งที่โฆษณา(แอบ)ทะลึ่งๆ เช่น "เจาะไข่แตกโพล๊ะ - ดูดนมพุ่งปรี๊ด" ให้ลองทานกันด้วย (ไม่รู้ว่าจริงตามโฆษณาหรือเปล่า)


คุณป้าเจ้าของร้านหนึ่งในซอย 4 แอบกระซิบกับเราว่า ให้มาเที่ยวตลาดสามชุกอีกทีในช่วงปีใหม่ เพราะชาวบ้านจะช่วยกันทำกับข้าวมาเลี้ยงปีใหม่กันคนละอย่าง เป็นบรรยากาศแบบบ้านๆที่หาไม่ได้อีกแล้วในกรุงเทพฯ อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นจริงอย่างไร ก็ต้องให้ทุกท่านไปลองกันเอง....

Sunday, April 28, 2013

Gay-Marriage: The Wind is growing strong.


In these past couple months, 3 countries has legalised Gay-Marriage. It appears that gay-marriage is becoming a trend, a big wake up call.


Inconceivably, the population in countries that legalised the law are mostly christian, and in fact, if they ever declared, all 14 states are all christian countries. What could be pointed out here is that, despite the fact that Christianity has stressed remarkably about misbehaved sexual orientation, these countries have reached the point where sexual orientation of all kinds is acceptable.

Gay-Marriage law allow legal binding between two persons, which enhance the relationship based on, above all, love. To allow the legal status of lovers from same gender, would be to accept their rights to legally bind with anyone they wish. Everyone has the right to form a "family" with anyone they love, beyond religious norms (which they may, or may not believe) and gender.


What I am calling for, here, is how Thailand, the Buddhism country, would step up for gay-rights. We are quite open about sexual preferences, and yet even famous for our lady-boys. As far as I know, there is no presumption restraining the marriage of any strong-will couples. However, it is quite interesting to see if we are going to set sail along the trend when the wind is still strong. 

Friday, March 29, 2013

การแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในไซปรัส - ท่าทีของสหภาพยุโรป



ในที่สุดไซปรัสก็ตกลงรับเงื่อนไขกู้เงินจากสหภาพยุโรปและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยรับเงินกู้เป็นจำนวน 10,000 ล้านยูโร หรือราว 400,000 ล้านบาทพร้อมเงื่อนไขที่จะหาเงินจำนวน 5,600 ล้านยูโร หรือราว 240,000 ล้านบาท เพื่อประกันเงินกู้ก้อนดังกล่าว

โดยเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้สถานการณ์ในไซปรัสเกิดความปั่นป่วน เนื่องจากไซปรัสมีนโยบายที่จะหาเงินจำนวนดังกล่าวจากการเก็บภาษีเงินฝากของประชาชน ทำให้หลายคนตื่นตระหนกและแห่กันไปถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลประกาศนโยบายดังกล่าวในวันที่เป็นวันหยุดของธนาคาร และประกาศปิดธนาคารยาวเกือบ 2 สัปดาห์จนถึงวานนี้ (28/03/2013) และยังส่งผลให้มีคนออกมาประท้วงจนทำให้การพิจารณารับรองต้องเลื่อนออกไปหลายครั้ง

ทั้งนี้ เงื่อนไขล่าสุด (เมื่อเวลา 10:00 GMT+7 วันที่ 29/03/2013) ที่รัฐบาลไซปรัสจะใช้ในการแก้ไขปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือรัฐบาลจะกำหนดให้

·         ผู้ที่มีเงินฝากต่ำกว่า 10,000 ยูโร
o    ได้รับการประกันเงินฝากภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรป
o    ผู้นำไปรวมอยู่ใน “ธนาคารที่ดี” (Good Bank)
·         ผู้ที่มีเงินฝากเกินกว่า 10,000 ยูโร
o    ถูกหักเงินราว 35% จากเงินฝากในบัญชี เพื่อประกันเงินฝากของตัวเอง

หลังจากนี้แล้วธนาคารไซปรัส (Bank of Cyprus) จะถูกปรับโครงสร้าง มีการจัดการผู้ถือหุ้นและผู้ถือพันธบัตรใหม่ และอาจมีการปิดธนาคารไลกิ (Cyprus Popular Bank – Leiki)

นอกจากนี้ไซปรัสยังดำเนินนโยบายควบคุมเงินไหลเวียนด้วย โดยกำหนดให้ลูกค้าธนาคารสามารถถอนเงินได้วันละไม่เกิน 300 ยูโร และห้ามนำเงินสดมากกว่า 1,000 ยูโรออกจากประเทศ และจำกัดการโอนย้ายเงินออกนอกประเทศได้ไม่เกิน 5,000 ยูโรต่อเดือน ผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต


ท่าทีที่แข็งกร้าวของสหภาพยุโรป? อะไระเกิดขึ้นต่อไป? 

ท่าทีของสหภาพยุโรปก่อนหน้านี้นั้นค่อนข้างแข็งกร้าวต่อไซปรัส เนื่องจากสหภาพยุโรปขู่ว่า ธนาคารกลางยุโรปจะไม่ใช้บัญชีเงินฉุกเฉินสนับสนุนไซปรัสอีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้ไซปรัสล้มละลาย โดยหลายฝ่านตั้งข้อสังเกตุว่า สหภาพยุโรปข้ามเส้นในการบริหารจัดการทางการเงินของประเทศไซปรัสมาไปหรือไม่? เนื่องจากบีบบังคับไซปรัสให้เลือกระหว่างการล้มละลาย หรือการต้องเสียประโยชน์ของประเทศจากเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการทำงานของกลไกการเก็บเงินภาษี/สวัสดิการของประเทศในระยะยาว  

ทำให้ก่อนหน้านี้หลายคนกลัวว่า ไซปรัสมีมติออกจากยูโรโซน และอาจเป็นจุดจบของสหภาพยุโรป – อย่างไรก็ตามผู้นำไซปรัสออกมาแถลงยืนยันแล้วว่าไซปรัสจะไม่ออกจากยูโรโซน และกิจกรรมในไซปรัสก็ยังดำเนินไปด้วยดี หลังได้ข้อสรุปและธนาคารเปิดทำการมาได้ 1 วันแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ยังออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกระทำครั้งนี้เป็นการกระทำที่ “ไม่เป็นผู้ใหญ่” ของสหภาพยุโรปอย่างมาก เนื่องจากละเลยหลักประชาธิปไตย และอาจทำให้ความเชื่อถือระหว่างกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน และลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและโครงการของสหภาพยุโรป และระบบการทำงานในยูโรโซน ให้การพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ส่งผลให้หลายคนตั้งคำถามว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่ได้เกิดที่ประเทศไซปรัส ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดเล็ก แต่ไปเกิดกับประเทศใหญ่ๆ อย่างสเปน หรือ อิตาลีจะเป็นอย่างไร? ประเทศเหล่านั้นจะเลือกออกจากยูโรโซนหรือไม่?

Wednesday, February 27, 2013

THE LOGOS HOPE

As part of my new job, I got to visit the Biggest Floating Bookstore ever. "THE LOGOS HOPE"


Waa, Yes, it was quite amazing, I met and got to talk to few volunteers on the ship. The ship is part of the German Organisation GBA Ships, and they had already sent 3 previous Bookstore ship to the world since 1980s.
There were various kinds of book inside the floating Bookstore, but most of them are in English, as well as few shelves of Thai book. (Where's the photo, Wita?)
Along with the book, there also are some souvenirs and memento to remind you of the memories of being on board.
 I checked out this one about the ship herself.

They also have some activities.. say, Kids Corner 



Oh well, I was delighted to be on the ship, but I could help thinking of the phrase someone said to me when he heard of the ship; "perhaps all the right cost will go to the right people, if they use the money to buy and give out free Kindle rather than to maintain the ship."

Hmm, that's so far I could make it interesting.

Best

Wits xx

Thursday, February 07, 2013

Cream Cheese Cherry Cake served fresh from the rice cooker! :D


I know, baking a cake is nothing special I could brag about. However, this time cake is slightly different from other cake I’ve ever baked as I normally used the oven.
However, once I travelled back to my home country, where oven is not very popular, and the main dished of every meal is rice. I must learn to adopt something.
Sadly I did not plan to update the blog in prior, so I did not take any photo of my cake being baked in the rice cooker (I’ll surely do that next time).
However, you could have a look at my cherry cake!


Adding the cream cheese into the cake was slightly strange when you mix it, as I always thought that it could only go well with cheese cake. It turns out that the cake is really rich and soft. I used fresh cherry for the cake, but I would suggest the preserved one instead, because once the cherry is cooked it became really sweet and soft, and it also ruins your cake texture (mine collapsed for a bit when I cut them apart).

Baking the cake in rice cooker is really easy too. I left my cake in the rice cooker for nearly 50 mins and didn’t even checked that it went from ‘cook’ to ‘keep warm’ for how long. By leaving it cooked, as I believe makes the cake’s skin cooked and I was glad I didn’t forced the rice cooker to cook it for too long as my cake’s skin became quite dark, and I even thought that it was burned! (Lucky it wasn’t!!) I think the heat from ‘keep warm’ mode is much enough to slowly cook the cake. But as you can see the skin is not very smooth as the cake was rather boiled than baked, so the skin in the last area that is cooked at it became all bubbly!

Lastly, I am glad I still keep on doing what I like, despite the lack of appropriate tools. 

I enjoy it, and I hope you do too! 

Wita xx



Saturday, January 12, 2013

Developing together or Drawing Each Other Back?


Happy New Year everybody, and I feel very bored of having nothing much to do during holidays.
However, I feel grateful to be here, alive and kicking and went Ice-Skating and saw the Christmas Pentomime at the local theatre.

Last month I just got a new book and it has started to made me question what I always believe in (again). I never title myself as a neo-liberalist, but may be I was (and slightly sitting on the fence), but I still disagree with Marxism in so many ways.

Ha-Joon Chang has amazingly express in his book '23 Things they dont tell you about capitalism' (yeh, that's the new book I got from Pei Shan) that perhaps the reason why developing countries are struggling to develop was because they have been put into the condition of dependency to the rich countries. However, this argument has lasted for a long time, and usually been discussed by the IPE students under the topic of dependency in contrast with globalisation and regionalisation.

I would have said as a supporter for regional development that the greater the cooperation is, the better outcome it will yield. However, until recently that my thoughts have come to the contrast point, as I have been finding answer why does my country cannot further develop - the answer which I come to disagree with the government that it is not materialistically education development (e.g. tablets and computer), but the  infrastructural development.

Nontheless, we will put the topic of the education-infrastructural development aside in this blog, but rather we are going to look at the coming changes the ASEAN is going to go through in a few years - which is to become an economic community.

John Ravenhill would truly support the cooperation. He has been quoted many times in my Master dissertation for regional development that it is going to bring a greater benefits for the region, and could (with high ambition of the member states) to become a political unit like the confederation states.

However, the economic community has to be done after the region has successfully liberalise their trades, and hence means the greater competition among member states in the same product line. At this stage, trade agreement will be created in order to prevent the massive competition in market share.

Here, if we have a look at our main actor, the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), whose member states contains mostly the developing countries - which based most of their products on agricultural goods, with only about 10-30% share on manufacturing goods. Will it seem likely for ASEAN to develop?

Back to Ha-Joon Chang discussion, he said that most of the developed countries did not liberalise their trades when they were still developing. This means they liberalise their trade when they are ready and have a large amount of products and possibility of successful trades in their hands. Not to mention the prosperity of technology that they need not to rely on international supply, these developed countries were already possess the strong domestic infrastructure, technology, and markets before they starts to liberalise their trade.

On the other hand, ASEAN does not seem likely to liberalise their market at the moment, as the countries still suffer from the wounds from old and new economic crises. Thailand, for example, still cannot become an technological manufacturing country on its own. The manufacturing sectors are still relying mostly from Japan, which is the home countries of most companies whose based their manufacturing in Thailand. The agricultural sector of the country still needs a large amount of subsidy from the government and do not yield the great productivity. The labour section are quite competible, but still (as I believe) need to be restructure through education systems. Hence, I could only see that Thailand (and may be the whole region) in heading to a massive competition against each other, which might not end up well in good international relations.

Not only with the rush from the international institutions like IMF and World Bank, but also their eager for greater development, ASEAN is not hesitate to jump into a speedy highway without the appropriate vehicles. Their poor regional institutions and rule of law would also play the big part in changing the game, and whether who is the winner or loser. This game is not just ASEAN member states against each other, but also their chance to be integrated into the global economy or get totally destroyed. (That's just too exaggerated :P)